วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การใช้สำนวนไทย


             การใช้สำนวนที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจนถูกต้องและรวดเร็ว โดยทั่วไปเราใช้สำนวนเพื่อการสื่อสารในกรณีต่อไปนี้ใช้ในการจูงใจ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา ธรรมะย่อมชนะอธรรม คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร เป็นต้น

2. ใช้ย่อข้อความยาวๆ เช่น ขิงก็รา ข่าก็แรง ตัดหางปล่อยวัด จับปลาสองมือ กินเปล่า ชุบมือเปิบ ตำน้ำพริก-ละลายแม่น้ำ เป็นต้น

3. ใช้ขยายความหรือเน้นความเข้าใจ เช่น ปิดทองหลังพระ หนีเสือปะจระเข้ ทำคุณบูชาโทษ กินน้ำใต้ศอก เรือล่มในหนองทองจะไปไหน หนูตกถังข้าวสาร เป็นต้น

4. ใช้แทนถ้อยคำที่ไม่ต้องการกล่าวตรงๆ เช่น เฒ่าหัวงู สิ้นบุญ เจ้าโลก บ้านเล็ก ไก่แก่แม่ปลาช่อน โคแก่กินหญ้าอ่อน วัวเคยขาม้าเคยขี่ เป็นต้น

5. ใช้เพิ่มสีสันและความสละสลวยของถ้อยคำในการสื่อสาร เช่น ข้าวแดงแกงร้อน อยู่เย็นเป็นสุข รั้วรอบขอบชิด คลุกคลีตีโมง ขุดบ่อล่อปลา เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น